คู่มือการเลี้ยงหนอนแมลงวันลายสำหรับประชาชน

ประเทศไทยมีปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2562 ประมาณ 28.71 ล้านตัน โดยมีการนำขยะมูลฝอยไปใช้ประโยชน์ 12.52 ล้านต้น และมีการกำจัดขยะมูลฝอยอย่างถูกต้อง 9.81 ล้านต้น แต่มีการกำจัดขยะมูลฝอยอย่างไม่ถูกต้อง 6.38 ล้านต้น และขยะอาหารโดยประมาณจากข้อมูลปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนได้โดยใช้ข้อมูล
องค์ประกอบขยะมูลฝอย (Waste Composition) ของประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2547 มีสัดส่วนของขยะอินทรีย์เท่ากับร้อยละ 64 และในปี พ.ศ. 2564 สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยได้ศึกษาเกี่ยวกับการสูญเสียอาหาร ให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีส่วนหนึ่งที่ได้ศึกษาข้อมูลองค์ประกอบขยะมูลฝอย
สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง พบว่ามีสัดส่วนขยะอาหาร อยู่ในช่วงระหว่างร้อยละ 33 ถึงร้อยละ 50 จึงอาจประมาณการได้ว่าปริมาณขยะอาหารร รวมในประเทศไทย มีปริมาณ 9.47 ล้านต้น ถึง 14.35 ล้านต้น โดยองค์การสหประชาชาติได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ข้อ 12.3 ที่เกี่ยวข้องกับขยะอาหารว่า
"ขอให้ประเทศต่าง ๆ และบริษัท ร่วมกันลดปริมาณขยะอาหารต่อคนของโลกลงครึ่งหนึ่งภายในปี พ.ศ. 2573 การทิ้งขยะอาหาร ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหลายประเด็น ซึ่งประเด็นที่สำคัญประเด็นหนึ่ง คือการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากขยะอาหารก่อให้เกิดซเรือนกระจกได้หากจัดการไม่ถูกต้อง ขยะอินทรีย์
ย่อยสลาย หากอยู่ในสภาวะที่ไร้อากาศ จุลินทรีย์ที่ไม่ใช้อากาศจะสร้างกัชมีเทน ซึ่งเป็นซเรือนกระจกที่มีศักยภาพในการทำให้โลกร้อนถึง 25 เท่าเทียบกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หากเทียบกับกิจกรรมอื่น "ๆ ขยะอาหารก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก รองจากการขนส่งทางถนน และการใช้ไฟฟ้าของบ้านเรือนประชาชน
ด้วยเหตุดังกล่าวศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมในปี 2564 ได้มีการศึกษาการประยุกต์ใช้หนอนแมลงวันลาย (Hermetia ilucens) ในการจัดการขยะอินทรีย์ จำพวก เศษผัก ผลไม้ เศษอาหารตามครัวเรือน โดยตัวอ่อนหนอนแมลงวันลายชอบดูดกินเศษซากอินทรีย์วัตถุเป็นอาหาร ดังนั้นจึงเหมาะมากที่จะนำมาใช้กำจัดขยะอินทรีย์ อีกทั้งไม่เป็นพาหะนำโรค จึงปลอดภัยกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ดังนั้น กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมมีแนวทางนำไปขยายผลต่อยอต เพราะหนอนแมลงวันลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจจึงมีการเพาะเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ ซึ่งปัจจุบันประชาชนจึงหาซื้อมาเลี้ยงเพื่อใช้สำหรับจัดการขยะในครัวเรือนของ
ตนเองได้ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก โดยหนอนแมลงวันลาย 1 กิโลกรัม สามารถย่อยเศษอาหาร1 กิโลกรัม ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง ผลการตรวจวิเคราะห์หนอนแมลงวันลาย ไม่พบว่ามีการตกค้างของโลหะหนัก (สารหนู แคดเมียมตะกั่ว และปรอท) สารกำจัดศัตรูพืช (glyphosate paraquat Chlorpyrios) และเชื้อก่อโรค E. coli S. aureus
และ Spp. ไม่เกินค่ามาตรฐาน อีกทั้งในหนอนแมลงวันลายสด หนอนแมลงวันอบแห้ง ปลอกดักแด้ ซากแมลงวันลายมีปริมาณโปรตีน และไขมัน อยู่ในช่วง 15.23 - 59.07 กรัมต่อ 100 กรัม และ 4.75 - 39.08 กรัมต่อ 100 กรัม ซึ่งเป็นปริมาณมากและเหมาะสมที่จะนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตอาหารสัตว์ เพื่อลดต้นทุน รวมถึงมูลของ
หนอนแมลงวันลายอุตมไปด้วยธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืช สามารถนำไปใช้เป็นปุยอินทรีย์ได้ ทำให้ประชาชนในชุมชนเกิดความตระหนัก มีการคัดแยกขยะต้นทางในครัวเรือนปริมาณขยะอินทรีย์ที่จะเข้าสู่กระบวนการกำจัดขยะลดลง และได้รับประโยชน์จากการเลี้ยงหนอนแมลงวันในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เลี้ยงไก่
เลี้ยงปลา ใช้มูลหนอนทดแทนปุ๋ยเคมี รวมถึงการนำมาแปรรูปเป็นอาหารอัดเม็ดอาหารสัตว์อื่นๆ

เลขเรียกหนังสือ : -
สำนักพิมพ์ : -
วันที่วางจำหน่าย :
จำนวนหน้า : 34
ความนิยม :
จำนวนที่ยังยืมได้ ไม่จำกัด
แชร์ข้อมูลไปยัง :

More Information

245 a : Title 
คู่มือการเลี้ยงหนอนแมลงวันลายสำหรับประชาชน 
300 a : Total pages 
34 
650 a : Subject 
- 
260 b : Name of publisher 

ไม่มีความคิดเห็น

  1. ยังไม่มีความคิดเห็น

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากคุณยังคงใช้ไซต์นี้ต่อไปหมายความว่าคุณยอมรับข้อกำหนดและเงื่อนไขและนโยบายความเป็นส่วนตัว.

ยอมรับ รายละเอียด