กระเจียวอรุณ และช่อม่วงพิทักษ์ พืชถิ่นเดียวและพืชหายากชนิดใหม่ของโลก

กระเจียวอรุณ ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma aruna Maknoi & Saensouk คำระบุชนิด “aruna” หมายถึง สีของดอกที่มีสีเหลืองอร่ามคล้ายกับสีในช่วงรุ่งอรุณในตอนเช้าและยังมีความหมายว่า “รุ่งอรุณแห่งความสุข”
ช่อม่วงพิทักษ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma pitukii Maknoi, Saensouk, Rakarcha & Thammar. คำระบุชนิด “pitukii” ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติให้แก่ นายพิทักษ์ ปัญญาจันทร์ อดีตเจ้าหน้าที่องค์การสวนพฤกษศาสตร์ ที่ทำงานสนับสนุนด้านพฤกษศาสตร์มากกว่า 25 ปี และเป็นผู้พบพืชชนิดนี้ระหว่างสำรวจความหลากหลายของพรรณไม้ในภาคเหนือของประเทศไทย การกระจายพันธุ์เฉพาะที่ #ป่าผลัดใบ
ทีมนักพฤกษศาสตร์จาก องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และทีมนักวิจัยจาก มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม โดย ดร.จรัญ มากน้อย ดร.ศรายุทธ รักอาชา และดร.วรนาถ ธรรมรงค์ นักพฤกษศาสตร์จากองค์การสวนพฤกษศาสตร์ ร่วมกับ รศ. ดร.สุรพล แสนสุข นักวิจัยจากสถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ รศ. ดร.ปิยะพร แสนสุข นักวิจัยจากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ค้นพบพืชสกุล ขมิ้น (Curcuma L.) วงศ์ขิง (Zingiberaceae) ชนิดใหม่ของโลก จากภาคเหนือของประเทศไทย จัดเป็น พืชถิ่นเดียว และยังเป็น พืชหายาก ของประเทศไทยและของโลก โดยได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพฤกษศาสตร์ระดับนานาชาติ Biodiversitas ปีที่ 22 ฉบับที่ 9 หน้าที่ 3910–3921

วันที่เผยแพร่ : Oct 18, 2021
สำนักพิมพ์ : องค์การสวนพฤกษศาสตร์
หมวดหมู่ : เกษตร
จำนวนหน้า : 1
ความนิยม :
จำนวนที่ยังยืมได้ ไม่จำกัด
แชร์ข้อมูลไปยัง :

MARC Information

245 a : Title 
กระเจียวอรุณ และช่อม่วงพิทักษ์ พืชถิ่นเดียวและพืชหายากชนิดใหม่ของโลก 
300 a : Total pages 
260 b : Name of publisher 
องค์การสวนพฤกษศาสตร์ 
260 c : Date of publication 
18 ตุลาคม 2564 

ไม่มีความคิดเห็น

  1. ยังไม่มีความคิดเห็น

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากคุณยังคงใช้ไซต์นี้ต่อไปหมายความว่าคุณยอมรับข้อกำหนดและเงื่อนไขและนโยบายความเป็นส่วนตัว.

ยอมรับ รายละเอียด